วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


วันจันทร์ที่ 12 กันยายน  พ.ศ. 2559

                               วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  STEM / STEAM Education 
       วันนี้ก่อนเริ่มเข้าทฤษฎี อาจารย์ก็ได้ทบทวนบทเพลงภาษาอังกฤษ โดยให้เพื่อนคนที่มาสายเต้นตามเพลงที่เพื่อนเพื่อนร้อง และเมื่อทำกิจกรรมร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็เริ่มเข้าเนื้อหา






 STEM / STEAM Education (เกิดครั้งแรกที่ อเมริกา )

    STEM คืออะไร (ชลาธิป สมาหิโต: 2557)   เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน


STEM Education (สะเต็มศึกษา)
  • Science
  • Technology
  • Engineering
  • Mathematics
Science (วิทยาศาสตร์)
  •  การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี) 
  • วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
  • สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต 
  • ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, กบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
  • ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
  • กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1) 
  • ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematic (คณิตศาสตร์)
  • วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225) 
  • เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ 
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ 
  • เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ ทุกเวลาอีกด้วย 
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
  • “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น 
  • การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 
  • ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 
STEAM Education
  • การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 
  • เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
STEAM Education (สะตีมศึกษา)
  • Science
  • Technology
  • Engineering
  • Art
  • Mathematics
          กิจกรรมต่อมา อาจารย์แนะนำอุปกรณ์ และสาธิตวิธีทำ แต่อาจารย์ให้นักศึกษาทำผีเสื้อตามจินตนาการของตัวเอง   อุปกรณ์ก็จะมี  1.จานกระดาษ   2.ไม้ไอติม   3. สีเทียน


     

นี่คือผลงานของกลุ่มดิฉัน


            กิจกรรมที่สอง อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อจากกิ่งไม้ที่นักศึกษาเตรียมมา





นี่คือผลงาน กรงผีเสื้อของกลุ่มเรา


    กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อพร้อมกับตัดต่อภาพให้เป็นวีดีโอ โดยใช้โปรแกรม Spot Motion  และนี่คือวงจรชีวิตผีเสื้อของกลุ่มดิฉัน



ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ทุกคนสนุกกับกิจกรรมที่ทำเป็นอย่างมาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่2


 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน  พ.ศ. 2559


          ก่อนจะเริ่มกิจกรรมอาจารย์ได้ให้ คลิปวีดีโอ สาธิตความปลอดภัยบนรถเมย์ จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำกิจกรรม Marshmallow Tower เพื่อที่จะให้นักศึกษาเกิดทักษะของการคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคีภายในกลุ่มเกิดการวางแผนก่อนการทำงาน โดยอาจารย์จะมีอุปกรณ์ให้ คือ กระดาษ 1 แผ่น ดินน้ำมัน 3 แท่ง และ ก็ไม้จิ้มฟัน


*กิจกรรมมีกติกาว่า ให้ทำยังไงก็ได้ต่อให้สูงที่จากอุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้

      รอบที่ 1 ให้ทุกคนภายในกลุ่มต่ออุปกรณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ ยังไงก็ได้ให้สูงที่สุดโดยห้ามพูดคุย กันในกลุ่ม
      รอบที่ 2 ให้ 1 คนในกลุ่มพูดได้แต่ไม่ให้ช่วย เพราะต้องเป็นคนออกคำสั่งให้เพื่อนทำ
      รอบที่ 3 ทุกคนภายในกลุ่มพูดคุยกันได้ปรึกษา และระดมความคิดของคนในกลุ่ม
                  ผลออกมาคือ กลุ่มของดิฉันทำได้
                        รอบที่ 1 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 29
                        รอบที่ 2 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 45
                        รอบที่ 3 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 65



         

 การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
     การเล่น
           กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
  แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้        
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
  • สำรวจ จับต้องวัตถุ
  • ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
  • อายุ 1 ½ - 2 ปี
  • การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
  • เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
  • 2 ขวบขึ้นไป
  • สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
  • เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
  • ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
  • ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
  • ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่นกลางแจ้ง
  • การเล่นในร่ม
  • การเล่นในร่ม
การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง
  • การเล่นสรรค์สร้างการเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
  • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
  • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
  • องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
   เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  1. การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
  2. การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
  3. การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  4. การเรียนรู้เหตุและผล 

การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน


   




การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว



 การเรียนรู้เหตุและผล


       

2. พัฒนาการของการรู้คิด
  • ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
  • กระบวนการเรียนรู้
  • กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
 กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  1. เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  2. การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
  3. การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
  1. ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
  2. ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
  3. มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
  4. มีการสรุปท้ายกิจกรรม
        กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้จับเหมือนเดิม เพื่อทำกิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ เรือที่ประดิษฐ์จะเป็นแบบไหนก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์ของคนในกลุ่ม โดยที่ อาจารย์มีอุปกรณ์ให้ก็คือ กระดาษ หลอดและหนังยาง ทำยังไงก็ได้ให้บรรทุกซอสให้ได้เยอะที่สุด

เรือกลุ่มของดิฉัน

               นี่คือเรือของกลุ่มเพื่อนๆ             
    ผลที่ได้ของแต่ละกลุ่ม
  • กลุ่มแรกบรรทุกได้ 19 ซอง
  • กลุ่มที่สองบรรทุกได้ 45 ซอง
  • กลุ่มที่สามบรรทุกได้ 52 ซอง
  • กลุ่มที่สี่บรรทุกได้ 22 ซอง                    
  • กลุ่มที่ห้าบรรทุกได้ 12 ซอง
  • กลุ่มที่หกบรรทุกได้ 17 ซอง





กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้  อาจารย์ให้นักศึกษานำหนังสือพิมพ์ที่อาจารย์สั่งขึ้นมา จับกลุ่มเหมือนเดิมเพื่อทำกิจกรรม ดีไซเนอร์ระดับโลก ทำตามหัวข้อที่กำหนด

มาดูผลงานของกลุ่มเรากันเลยค่ะ




มาดูผลงานของกลุ่มเพื่อนๆเราบ้างค่ะ






ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ทุกคนสนุกกับกิจกรรมที่ทำเป็นอย่างมาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



บันทึกการเรียนครั้งที่1


วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

  
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
            ก่อนการเรียนการสอนอาจารย์ได้บอกข้อตกลงในห้องเรียนและปฐมนิเทศ แล้วอาจารย์ก็ได้แจกชีทเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อฝึกร้องก่อนจะเริ่มเรียนอาจารย์ก็ได้ให้ทดสอบจากความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา



การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
  1. Jellen and Urban ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
  2. De Bono ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
  3. อุษณีย์  โพธิสุข  กระบวนการคิดหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องอิสระภาพทางความคิด
คุณค่าทางความคิดสร้างสรรค์
  1. คุณค่าทางสังคม
  2. คุณค่าต่อตนเอง
  3. ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลินเพลิด
  4. ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  5. มีความภูมิใจ และเชื่อมั่นในตัวเอง
  6. นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
  7. ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
  8. ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
  9. พัฒนากล้ามเนื้อ
  10. เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
       Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
  • ความคิดคล่องแคล่ว Fluency (ตอบได้ทันทีทันใด ตอบได้แบบรวดเร็ว)
  • ความคิดริเริ่ม Originality  (คิดแปลกใหม่ คิดต่างจากบุคคลอื่น)
  • ความคิดยืดหยุ่น Flexibility (ความคิดที่เกิดขึ้นทันที,ทางการดัดแปลง,แก้ปัญหา)
  • ความคิดละเอียดลออ Elaboration (คิดเล็กคิดน้อย เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นดีขึ้น)


ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์  Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
  1. แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
  2. งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
  3. ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
  4. ปรับปรุงขั้นที่ 3 
  5. คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
*ของเล่นที่ส่งเสริมเด็กอนุบาลจะไม่ควรแบ่งแยกเพศ

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
  1. ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
  2. อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
  3. ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
  4. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
  5. ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
    แนวคิดและทฤษฎีโคครงสร้างทางปัญญาของ Guilfond อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
  • ภาพ
  • สัญลักษณ์
  • ภาษา
  • พฤติกรรม 
มิติที่ 2 วิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง) 
  • การรู้และเข้าใจ
  • การจำ
  • การคิดแบบอเนกนัย
  • การคิดแบบเอกนัย
  • การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
  • หน่วย
  • จำพวก
  • ความสัมพันธ์
  • ระบบ
  • การแปลงรูป
  • การประยุกต์


ทฤษฎี Constructivis

    เด็กเรียนรู้เอง เด็กคิดเอง    ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน   สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

          ทฤษฎีของ Torrance   ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
                   ขั้นที่ 1 การพบความจริง
                   ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
                   ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
                   ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
                   ขั้นที่ 5 ยอมรับผล

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1. เด็กรู้สึกปลอดภัย
  2. ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
  3. ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง                  
  4. ขจัดอุปสรรค
  5. ไม่มีการแข่งขัน
  6. ให้ความสนใจเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
  1. มีไหวพริบ
  2. กล้าแสดงออก
  3. อยากรู้อยากเห็น
  4. ช่างสังเกต
  5. มีอารมณ์ขัน
  6. มีสมาธิ
  7. รักอิสระ
*** กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
            ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
            ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
                                (Producing Something and Using It)
            ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)

แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance

  • ส่งเสริมให้เด็กถาม
  • เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
  • ยอมรับคำถามของเด็ก
  • ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  • แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
  • ค่อยเป็นค่อยไป
  • ยกย่องชมเชย
  • ไม่มีการวัดผล

           ต่อมาอาจารย์ก็แจกกระดาษให้คนล่ะ หนึ่งแผ่นให้พับจรวดตามความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง และให้จรวดบินเข้ากล่องที่อาจารย์ตั้งไว้ให้ได้

นี่คือจรวดของฉัน
           กิจกกรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วก็ให้กระดาษ 100 ปอน มาคู่ละ 1 แผ่นพร้อมกับให้ทั้งสองไปหยิบสีที่ตัวเองชอบมาคนละหนึ่งสี โดยที่อาจารย์ให้ตั้งสมาธิกับเสียงดนตรีที่อาจารย์เปิดแล้วก็ให้นักศึกษาขีดเส้นไปตามเสียงเพลงที่ได้ยิน พอจบเพลงก็หยุดวาดรูปทันที พร้อมกับให้นักศึกษามองในภาพวาดของตัวเอง ว่าเห็นเป็นรูปอะไรตามความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาเอง


ผลงานของฉันกับอัญชัน

นี่คือผลงานของเพื่อนๆทุกคนในห้องค่ะ

     ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม
     ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก มีสิ่งมาจูงใจให้นักศึกษาสนใจ