วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่2


 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน  พ.ศ. 2559


          ก่อนจะเริ่มกิจกรรมอาจารย์ได้ให้ คลิปวีดีโอ สาธิตความปลอดภัยบนรถเมย์ จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำกิจกรรม Marshmallow Tower เพื่อที่จะให้นักศึกษาเกิดทักษะของการคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคีภายในกลุ่มเกิดการวางแผนก่อนการทำงาน โดยอาจารย์จะมีอุปกรณ์ให้ คือ กระดาษ 1 แผ่น ดินน้ำมัน 3 แท่ง และ ก็ไม้จิ้มฟัน


*กิจกรรมมีกติกาว่า ให้ทำยังไงก็ได้ต่อให้สูงที่จากอุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้

      รอบที่ 1 ให้ทุกคนภายในกลุ่มต่ออุปกรณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ ยังไงก็ได้ให้สูงที่สุดโดยห้ามพูดคุย กันในกลุ่ม
      รอบที่ 2 ให้ 1 คนในกลุ่มพูดได้แต่ไม่ให้ช่วย เพราะต้องเป็นคนออกคำสั่งให้เพื่อนทำ
      รอบที่ 3 ทุกคนภายในกลุ่มพูดคุยกันได้ปรึกษา และระดมความคิดของคนในกลุ่ม
                  ผลออกมาคือ กลุ่มของดิฉันทำได้
                        รอบที่ 1 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 29
                        รอบที่ 2 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 45
                        รอบที่ 3 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 65



         

 การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
     การเล่น
           กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
  แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้        
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
  • สำรวจ จับต้องวัตถุ
  • ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
  • อายุ 1 ½ - 2 ปี
  • การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
  • เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
  • 2 ขวบขึ้นไป
  • สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
  • เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
  • ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
  • ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
  • ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่นกลางแจ้ง
  • การเล่นในร่ม
  • การเล่นในร่ม
การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง
  • การเล่นสรรค์สร้างการเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
  • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
  • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
  • องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
   เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  1. การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
  2. การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
  3. การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  4. การเรียนรู้เหตุและผล 

การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน


   




การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว



 การเรียนรู้เหตุและผล


       

2. พัฒนาการของการรู้คิด
  • ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
  • กระบวนการเรียนรู้
  • กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
 กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  1. เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  2. การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
  3. การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
  1. ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
  2. ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
  3. มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
  4. มีการสรุปท้ายกิจกรรม
        กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้จับเหมือนเดิม เพื่อทำกิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ เรือที่ประดิษฐ์จะเป็นแบบไหนก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์ของคนในกลุ่ม โดยที่ อาจารย์มีอุปกรณ์ให้ก็คือ กระดาษ หลอดและหนังยาง ทำยังไงก็ได้ให้บรรทุกซอสให้ได้เยอะที่สุด

เรือกลุ่มของดิฉัน

               นี่คือเรือของกลุ่มเพื่อนๆ             
    ผลที่ได้ของแต่ละกลุ่ม
  • กลุ่มแรกบรรทุกได้ 19 ซอง
  • กลุ่มที่สองบรรทุกได้ 45 ซอง
  • กลุ่มที่สามบรรทุกได้ 52 ซอง
  • กลุ่มที่สี่บรรทุกได้ 22 ซอง                    
  • กลุ่มที่ห้าบรรทุกได้ 12 ซอง
  • กลุ่มที่หกบรรทุกได้ 17 ซอง





กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้  อาจารย์ให้นักศึกษานำหนังสือพิมพ์ที่อาจารย์สั่งขึ้นมา จับกลุ่มเหมือนเดิมเพื่อทำกิจกรรม ดีไซเนอร์ระดับโลก ทำตามหัวข้อที่กำหนด

มาดูผลงานของกลุ่มเรากันเลยค่ะ




มาดูผลงานของกลุ่มเพื่อนๆเราบ้างค่ะ






ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ทุกคนสนุกกับกิจกรรมที่ทำเป็นอย่างมาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น