วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่1


วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

  
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
            ก่อนการเรียนการสอนอาจารย์ได้บอกข้อตกลงในห้องเรียนและปฐมนิเทศ แล้วอาจารย์ก็ได้แจกชีทเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อฝึกร้องก่อนจะเริ่มเรียนอาจารย์ก็ได้ให้ทดสอบจากความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา



การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
  1. Jellen and Urban ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
  2. De Bono ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
  3. อุษณีย์  โพธิสุข  กระบวนการคิดหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องอิสระภาพทางความคิด
คุณค่าทางความคิดสร้างสรรค์
  1. คุณค่าทางสังคม
  2. คุณค่าต่อตนเอง
  3. ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลินเพลิด
  4. ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  5. มีความภูมิใจ และเชื่อมั่นในตัวเอง
  6. นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
  7. ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
  8. ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
  9. พัฒนากล้ามเนื้อ
  10. เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
       Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
  • ความคิดคล่องแคล่ว Fluency (ตอบได้ทันทีทันใด ตอบได้แบบรวดเร็ว)
  • ความคิดริเริ่ม Originality  (คิดแปลกใหม่ คิดต่างจากบุคคลอื่น)
  • ความคิดยืดหยุ่น Flexibility (ความคิดที่เกิดขึ้นทันที,ทางการดัดแปลง,แก้ปัญหา)
  • ความคิดละเอียดลออ Elaboration (คิดเล็กคิดน้อย เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นดีขึ้น)


ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์  Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
  1. แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
  2. งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
  3. ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
  4. ปรับปรุงขั้นที่ 3 
  5. คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
*ของเล่นที่ส่งเสริมเด็กอนุบาลจะไม่ควรแบ่งแยกเพศ

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
  1. ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
  2. อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
  3. ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
  4. ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
  5. ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
    แนวคิดและทฤษฎีโคครงสร้างทางปัญญาของ Guilfond อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
  • ภาพ
  • สัญลักษณ์
  • ภาษา
  • พฤติกรรม 
มิติที่ 2 วิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง) 
  • การรู้และเข้าใจ
  • การจำ
  • การคิดแบบอเนกนัย
  • การคิดแบบเอกนัย
  • การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
  • หน่วย
  • จำพวก
  • ความสัมพันธ์
  • ระบบ
  • การแปลงรูป
  • การประยุกต์


ทฤษฎี Constructivis

    เด็กเรียนรู้เอง เด็กคิดเอง    ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน   สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

          ทฤษฎีของ Torrance   ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
                   ขั้นที่ 1 การพบความจริง
                   ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
                   ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
                   ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
                   ขั้นที่ 5 ยอมรับผล

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1. เด็กรู้สึกปลอดภัย
  2. ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
  3. ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง                  
  4. ขจัดอุปสรรค
  5. ไม่มีการแข่งขัน
  6. ให้ความสนใจเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
  1. มีไหวพริบ
  2. กล้าแสดงออก
  3. อยากรู้อยากเห็น
  4. ช่างสังเกต
  5. มีอารมณ์ขัน
  6. มีสมาธิ
  7. รักอิสระ
*** กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
            ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
            ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
                                (Producing Something and Using It)
            ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)

แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance

  • ส่งเสริมให้เด็กถาม
  • เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
  • ยอมรับคำถามของเด็ก
  • ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  • แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
  • ค่อยเป็นค่อยไป
  • ยกย่องชมเชย
  • ไม่มีการวัดผล

           ต่อมาอาจารย์ก็แจกกระดาษให้คนล่ะ หนึ่งแผ่นให้พับจรวดตามความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง และให้จรวดบินเข้ากล่องที่อาจารย์ตั้งไว้ให้ได้

นี่คือจรวดของฉัน
           กิจกกรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วก็ให้กระดาษ 100 ปอน มาคู่ละ 1 แผ่นพร้อมกับให้ทั้งสองไปหยิบสีที่ตัวเองชอบมาคนละหนึ่งสี โดยที่อาจารย์ให้ตั้งสมาธิกับเสียงดนตรีที่อาจารย์เปิดแล้วก็ให้นักศึกษาขีดเส้นไปตามเสียงเพลงที่ได้ยิน พอจบเพลงก็หยุดวาดรูปทันที พร้อมกับให้นักศึกษามองในภาพวาดของตัวเอง ว่าเห็นเป็นรูปอะไรตามความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาเอง


ผลงานของฉันกับอัญชัน

นี่คือผลงานของเพื่อนๆทุกคนในห้องค่ะ

     ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม
     ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก มีสิ่งมาจูงใจให้นักศึกษาสนใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น